อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการมินิฟาร์มบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักสูตรให้เลือก ตั้งแต่ 1- 3 วัน
สนใจสมัครด่วน โทร. 091 834 4463 หรือ 064 160 7859 Line ID: 0918344463
หลักการและเหตุผล
มินิฟาร์ม คือ ฟาร์มขนาดเล็กในความฝันของใครหลายๆ คน ที่ต้องการปลูกผักหรือผลิตอาหาร โดยมีพื้นที่เพาะปลูกหรือสวนเป็นของตนเองเพื่อปลูกในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และสามารถรับประทานผัก อาหารที่ผลิตได้อย่างสะอาด ปลอดภัย และถ้าเหลือก็จำหน่ายในชุมชน มินิฟาร์ม เป็นแนวคิดที่เกิดจาการใช้ประโยชน์จากน้ำ ที่ดิน และแรงงานในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงการนำพลังงานทดแทนจากธรรมชาติมาช่วยลดค่าใช้จ่าย ซึ่งมินิฟาร์ม จะเป็นแหล่งอาหาร รายได้ และแหล่งการเรียนรู้ทั้งทางด้านการจัดการทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง ที่ผ่านมาหลายคนมองว่าการที่จะทำกิจกรรมให้เกิดรายได้ และเป็นแหล่งอาหารของครัวเรือนนั้นต้องใช้พื้นที่กว้างขวาง ห่างไกลบ้านเรือนและมีแหล่งน้ำอย่างมากมาย ในทางตรงกันข้าม มินิฟาร์ม เป็นการใช้พื้นที่เล็กๆ ข้างบ้านเรือนตั้งแต่ 100 – 400 ตารางเมตร ก็สามารถสร้างรายได้ 3,000 บาท/เดือน ขี้นไป นอกจากนี้ยังใช้น้ำในปริมาณน้อย คุ้มค่า เจ้าของสามารถดูแลได้อย่างสม่ำเสมอ
มินิฟาร์ม เป็นศัพท์ที่ใช้ในการส่งเสริมการเกษตร จากประสบการณ์การใช้น้ำและดินอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดของศูนย์ซีเบิร์ด ต่างๆ ภายใต้การดำเนินงานของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน โดยนายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมฯ ซึ่งได้เกิดกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการธนาคารผัก โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้ เป็นต้น กิจกรรมในมินิฟาร์มมีหลากหลายประกอบด้วย การปลูกมะนาวในวงบ่อ การปลูกผักในตะกร้า หรือในเข่ง การเพาะเห็ดคอนโด การเพาะทานตะวันงอก การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ การปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนโดยใช้ระบบโซล่าเซลล์ การเลี้ยงกบคอนโด การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การเลี้ยงจิ้งหรีด การเลี้ยงปูนา การเลี้ยงมดแดง การเลี้ยงไข่ผำ กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยนำผลผลิตมารับประทานเองอย่างน่าพึงพอใจ เนื่องจากสะอาด ปลอดภัย โดยไม่ต้องพึ่งการฉีดยาฆ่าแมลงหรือการดัดแปลงพันธุกรรมในพืชใดๆ ทั้งสิ้น สามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวจากการจำหน่ายให้ชุมชน
Mini Farm เป็นแหล่ง Organic Farm หรือที่ผลิตอาหารปลอดสารพิษในครัวเรือน เนื่องจากอยู่ในบริเวณบ้าน ดูแลโดย Mini Farm Manager จึงสามารถที่จะยุติการใช้สารเคมีในทุกกิจกรรมได้โดยปริยาย กิจกรรมใน Mini Farm มีการเอื้อประโยชน์และพึ่งพาซึ่งกันและกัน เช่น น้ำที่ระบายจากบ่อปลา บ่อกบ ควรนำไปรดผัก ไม้ผล และอื่นๆ ขณะเดียวกันไม้ผลบางประเภท เช่น มะม่วง หว้า ชมพู่ ก็เป็นที่อยู่ของมดแดง มูลสัตว์สามารถนำไปใส่แปลงผัก ไม้ผล หว่านในบ่อปูให้เกิดพืชธรรมชาติ ผสมในบ่อหอยให้เกิดแพลงตอน และตะไคร่น้ำที่เป็นอาหารของหอยขม นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือสาร EM ได้อย่างง่ายๆ อีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะให้เกษตรกรปลูกพืชผักและอาหารปลอดภัยได้อย่างมีคุณภาพ
2. เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำ พื้นที่ดินและพลังงานแสงอาทิตย์ ให้มีประโยชน์สูงสุด
3. เพื่อเสริมสร้างรายได้จากงานประจำ